บทเรียนจากเรื่องจริง EP.1 ใช้ท่อก๊าซอะเซทิลีนให้ปลอดภัย

ทำความรู้จักกับก๊าซอะเซทิลีน (Acetylene)

ก๊าซอะเซทิลีน (Acetylene) เป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่ให้ความร้อนสูง ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ละลายในของเหลวได้ และเป็นก๊าซที่ใช้ในการเชื่อม โดยเผากับออกซิเจน หรือ งานตัด งานเซาะร่อง งานทำความสะอาดผิวเคลือบแข็ง อะเซทิลีน เป็นก๊าซที่ไม่เสถียร และมีน้ำหนักเบา ดังนั้นท่อก๊าซจึงถูกออกแบบพิเศษ เพื่อใช้ในการเก็บก๊าซอะเซทิลีน

ความเป็นอันตรายของก๊าซอะเซทิลีน (Acetylene)

  1. ไวไฟสูง ติดไฟได้ง่าย และมีความไวต่อการระเบิด
  2. ระเบิดแรงดัน: เมื่อเก็ดการกระแทก หรือ หากมีการรั่วไหลหรือเกิดประกายไฟ อาจเกิดการระเบิดได้
  3. การสูดดมก๊าซอะเซทิลีน ในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือหมดสติ
  4. อะเซทิลีนสามารถทำปฏิกิริยากับวัสดุโลหะอัลลอยด์ที่มีส่วนผสม ทองแดง ตั้งแต่ 65% ขึ้นไป หรือ โลหะอัลลอยด์ที่มีส่วนผสมเงิน ตั้งแต่ 43% ขึ้นไป แล้วก่อนให้เกิดการลุกติดไฟและอาจระเบิดได้
  5. ข้อควรระวัง: ก๊าซอะเซทิลีนไม่ควรใช้แรงดันในการใช้งานเกิน 1 บาร์ (15 psi)เนื่องจากก๊าซอาจเกิดการแตกตัว อาจเกิดอันตรายร้ายแรง ทำให้เกิดการระเบิดได้

แนวทางการป้องกันอันตรายจากก๊าซอะเซทิลีน (Acetylene)

  1. การจัดเก็บ:
    – เก็บในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศดี
    – เก็บในถังที่ออกแบบมาเฉพาะและตรวจสอบความปลอดภัยเป็นประจำ
    – กำหนดพื้นที่จัดเก็บถังก๊าซตามประเภทก๊าซที่บรรจุในถัง ได้แก่ ก๊าซไวไฟ ก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือให้ก๊าซออกซิเจน และก๊าซเฉื่อย
    – ใช้ถังบรรจุก๊าซที่ใช้หมุนเวียนจากผู้จำหน่ายเท่านั้น
    – กำหนดสถานที่จัดเก็บถังก๊าซ และติดป้าย “ห้ามสูบบุหรี่” รวมทั้งกฎข้อบังคับต่างๆ
    – เก็บถังไว้ในสถานที่ ที่ไม่มีโอกาสปนเปื้อนกับน้ำมัน จารบี หรือ สารหล่อลื่นต่างๆ
    – ไม่ว่าถังนั้นจะบรรจุก๊าซหรือเป็นถังเปล่าให้ตั้งถังและยึดด้วยโซ่กันถังล้ม
    – ทุกถังต้องติดรายละเอียดต่างๆ อย่างถูกต้อง และผ่านการทดสอบชัดเจน หากไม่ถูกต้องอย่ารับไว้
  2. การใช้งาน:
    – ใช้ในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศดี
    – หลีกเลี่ยงการใช้งานใกล้ประกายไฟหรือแหล่งความร้อน
    – ห้ามนอนท่อ: ไม่ควรวางท่อนอนราบกับพื้น เพื่อป้องกันของเหลวไวไฟ และก๊าซรั่วไหล อาจเกิดการลุกติดไฟได้
    – อย่าทำถังตกหรือล้ม เพราะถังอาจระเบิด หรือทำให้วาล์วชำรุดหรือแตกได้
    – หลีกเลี่ยงวัสดุ ที่จะทำปฏิบัติการได้ เช่น โลหะ ที่มีส่วนผสม ของ เงิน ทองแดง หรือ ปรอท รวมถึง อลูมิเนียม บรอนซ์ อัลลอยด์กับทองเหลือง ( สีแดง )
  3. การป้องกันบุคคล:
    – สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากและถุงมือ
    – ฝึกฝนการใช้งานอย่างถูกต้องและมีการตรวจสอบความปลอดภัย

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest

ข่าวและบทความอื่นๆ

หลักสูตรอบรมผู้ควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซ สำหรับโรงงานใช้ก๊าซหรือเก็บก๊าซ ตามประกาศของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

หลักสูตรอบรมผู้ควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซ ตามประกาศของกรมโ